AUN-QA

Asean University Network Quality Assurance

 คู่มือการตรวจประเมินคุณภาพหลักสูตร  “AUN-QA Assessments at Programme Level Version 4.0 

AUN-QA

AUN-QA (Asean University Network Quality Assurance)

เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน เป็นความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเชียงใต้หรืออาเซียน มีจุดมุ่งหมายในการจัดตั้งเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการศึกษา อันเป็นกลไกสำคัญในการสร้างรากฐานให้กับสังคมและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในภูมิภาค  ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ 1995 (พ.ศ.2538) รวม 13 สถาบัน ต่อมาได้ขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ทำให้สมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเวียนเพิ่มจำนวนเป็น 26 สถาบัน จาก  10 ประเทศอาเซียน โดยสำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN Secretariat) ตั้งอยู่ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ประเทศไทย ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาไทยที่เข้าเป็นสมาชิกมี  4  มหาวิทยาลัย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยมหิดล

AUN-QA ได้เปิดรับสมาชิกสมทบ (Associate Membership) ต้งแต่ต้นปี พ.ศ.2556  นับถึงปัจจุบันมีสมาชิกสมทบทั้งสิ้น  27  มหาวิทยาลัย  จาก  7  ประเทศอาเซียน เครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance : AUNQA) AUNQA ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกการประกันคุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

ระบบการประกันคุณภาพของ AUN-QA   

การประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance : AUNQA) ประกอบด้วย  3  มิติ  คือ

  1. Strategic     เป็นการประกันคุณภาพระดับสถาบันการศึกษา
  2. Systemic    เป็นการประกันคุณภาพระบบการประกันคุณภาพภายใน
  3. Tactical      เป็นการประกันคุณภาพระดับโปรแกรมหรือระดับหลักสูตร

รูปแบบการประกันคุณภาพระดับโปรแกรมหรือระดับหลักสูตรเน้นที่การจัดการเรียนการสอนโดยพิจารณาคุณภาพภายใน 3 มิติ คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต/ผลลัพธ์ โดยมีรูปแบบเริ่มจากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่จะให้เกิดกับตัวผู้เรียน การแปลงผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไปสู่โปรแกรมการศึกษาและวิธีที่จะทำให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ผ่านกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การประเมินคุณภาพระดับโปรแกรมการศึกษาของ AUNQA ใช้ระบบการประเมินจากคะแนนเต็ม 7 ในลักษณะ Rating scale

“การประชุมหัวหน้ารัฐบาลอาเซียนครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นในปี 1992 ได้เน้นย้ําถึงความจําเป็นในการเร่งพัฒนาอัตลักษณ์และความเป็นปึกแผ่นของภูมิภาค และส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยพิจารณาแนวทางในการเสริมสร้างเครือข่ายที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัยชั้นนําและสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคอาเซียน”

เกณฑ์ AUN-QA (Version 4.0)

^

Expected Learning Outcomes

จำนวน 5 ตัวบ่งชี้

^

Programme Structure and Content

จำนวน 7 ตัวบ่งชี้

^

Teaching and Learning Approach

จำนวน 6 ตัวบ่งชี้

^

Student Assessment

จำนวน 7 ตัวบ่งชี้

^

Academic Staff

จำนวน 8 ตัวบ่งชี้

^

Student Support Services

จำนวน 6 ตัวบ่งชี้

^

Facilities and Infrastructure

จำนวน 9 ตัวบ่งชี้

^

Output and Outcomes

จำนวน 5 ตัวบ่งชี้

เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับโปรแกรมหรือระดับหลักสูตรการศึกษา

ประกอบด้วย เกณฑ์ AUN-QA (Version 4.0) จำนวน  8 ข้อ และในแต่ละเกณฑ์ยังประกอบด้วยเกณฑ์การพิจารณาย่อย ๆ 53 ตัวบ่งชี้  เกณฑ์หลักในการประเมินคุณภาพ มีดังนี้

ตัวชี้วัด

ตัวบ่งชี้

Advancing Curriculums and Learning Approaches

ด้วยความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าเดิมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่รับผิดชอบในการเตรียมเยาวชนให้พร้อมสําหรับโลกมืออาชีพจะต้องก้าวหน้าเพื่อสะท้อนสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

Assuring Quality in Higher Education

การสร้างวัฒนธรรมทางวิชาการที่ตระหนักถึงคุณภาพเป็นสิ่งสําคัญในการสร้างความมั่นใจว่าสถาบันชั้นนํายังคงแข็งแกร่งและสถาบันที่กําลังพัฒนามีความกระตือรือร้นที่จะดําเนินการต่อไป

Developing Student Skill Through Cross-Border Exposure and Experiences

ความสามารถของเยาวชนของเราเป็นตัวบ่งชี้โดยตรงถึงความเจริญรุ่งเรืองของเรา ในโลกปัจจุบันมันมีค่ามากที่จะมีประสบการณ์ที่ขยายขอบเขตอันไกลโพ้นและพบปะกับเพื่อนต่างชาติของพวกเขา

Promoting and Cultivating Academic and Research Cooperation

เหตุผลสําคัญประการหนึ่งที่ทําให้สถาบันการศึกษาดํารงอยู่คือการต่อยอดความรู้ของมนุษยชาติ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งสําคัญสําหรับเราในการเชื่อมต่อนักวิชาการและเปิดโอกาสให้พวกเขาให้ความร่วมมือในความพยายามในการวิจัยในการแสวงหาความรู้

Serving as a Platform for Networking

เพื่ออํานวยความสะดวกให้กับสถาบันอุดมศึกษาอาเซียนในความร่วมมือ AUN ทําหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มและท่อร้อยสายที่เชื่อมโยงสถาบันชั้นนําเหล่านี้เข้าด้วยกันรวมถึงฝ่ายที่สนใจทํางานร่วมกับสถาบันเหล่านี้จากนอกภูมิภาคเพื่อทํางานที่สําคัญและมีความหมาย

AUN-QA Docs

Guide to AUN-QA Assessment at Programme Level Version 4.0

Guide to AUN-QA Assessment at Programme Level Ver.3 (October 2015)

20th Anniversary Booklet of AUN/SEED-Net

Guide to AUN-QA Assessment at Institutional Level Version 2.0

เรียนรู้เพิ่มเติม! 9 โมดูล

: Learning Resources for the Guide to the AUN-QA Programme Assessment, Version 4.0 https://youtu.be/kbNFt-FGPlc

Loading

Shares