Quality Development & Education Standard
งานมาตรฐานการศึกษา
พันธกิจที่สถาบันอุดมศึกษา จะต้องปฏิบัติมี 4 ประการ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
การดำเนินการตาม พันธกิจทั้ง 4 ประการดังกล่าว มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาว ปัจจุบันมีปัจจัยภายในและภายนอกหลายประการที่ทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ ปัจจัยดังกล่าวคือ
คุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาและบัณฑิตภายในประเทศ มีแนวโน้มที่จะมีความแตกต่าง กันมากขึ้น
ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียแก่สังคมโดยรวมของประเทศในระยะยาว
ความท้าทายของโลกาภิวัตน์ต่อการอุดมศึกษา ทั้งในประเด็นการบริการการศึกษาข้าม พรมแดน และการเคลื่อนย้ายนักศึกษาและบัณฑิต
เป็นผลมาจากการรวมตัวของประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งทั้งสองประเด็นต้องการการรับประกันคุณภาพการศึกษา
มหาวิทยาลัยมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสามารถพัฒนาองค์ความรู้และผลิตบัณฑิต ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล การพัฒนาภาคการผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรม และบริการ การพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน
มหาวิทยาลัยจะต้องให้ข้อมูลสาธารณะ (Public information) ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ทั้งนักศึกษา ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาล และประชาชนทั่วไป
สังคมต้องการระบบอุดมศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม (Participation)
มีความโปร่งใส (Transparency) และมีความรับผิดชอบซึ่งตรวจสอบได้ (Accountability) ตามหลักธรรมาภิบาล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
มาตรฐานการศึกษาของชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบมาตรฐานการศึกษาของชาติ(2 ตุลาคม พ.ศ. 2561) โดยเป้าหมายสำคัญ คือ การให้อิสระสถานศึกษาในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและตามความถนัดของผู้เรียนที่สอดรับกับกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
มาตรฐานการอุดมศึกษา
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2561 เผยแพร่ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่่(18 สิงหาคม 2561) เพื่อเป็นการปรับปรุงมาตรฐานการอุดมศึกษาให้สอดคล้องตามมาตรฐานการศึกษาของชาติโดยมีระบบประกันคุณภาพ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินและพัฒนาการจัดการศึกษา ระดับหลักสูตรสาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัย ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีการกำกับให้การจัดการศึกษาและการดำเนินงานตามพันธกิจเป็นไปตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานอื่น
เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านหลักสูตร
พัฒนาองค์ความรู้และคุณภาพด้านหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
ปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานการศึกษา
ปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานการจัดการศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง มีเครือข่ายความร่วมมือ
กำกับติดตามการประกันคุณภาพการศึกษา
ยกระดับคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปรับปรุงและพัฒนาด้วยกระบวนการ PDCA
QD Mission
- ดูแลและรับผิดชอบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
- รับผิดชอบการวางแผนพัฒนาและการบริหารงานของงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัย
- ประสานงานกับหน่วยงานในมหาวิทยาลัย / ภายนอกมหาวิทยาลัย และหน่วยงานอื่นในเรื่องเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา
- ตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
- ดูแลและรับผิดชอบการประเมินผลการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยจากหน่วยงานภายนอก
- รายงานผลการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานต่อผู้บริหารของมหาวิทยาลัย
- จัดรวบรวมเอกสารและฐานข้อมูลเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงของบุคลากร
- ดูแลและรับผิดชอบงานด้านการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา
- ประสานงานกับคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ระดับคณะ หน่วยงานตามโครงสร้างของมหาวิทยาลัย และระดับมหาวิทยาลัย ในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา
- ดูแลและรับผิดชอบงานให้ความรู้และความเข้าใจแก่บุคลากรในมหาวิทยาลัย เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา
- ดูแลและรับผิดชอบการจัดรวบรวมเอกสารและพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ออกแบบระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประกอบด้วย ระบบการควบคุม (Quality Control) ระบบการตรวจสอบ (Quality Audit) และระบบการประเมินผล (Quality Assessment) ครอบคลุม ระดับมหาวิทยาลัย ระดับคณะ และระดับหลักสูตร โดยควบคุมให้มีการดำเนินงานตามระบบคุณภาพที่กำหนดมีการตรวจสอบระบบคุณภาพเป็นระยะ ๆ และมีกลไกการดำเนินงานอย่างชัดเจนเมื่อครบรอบปีการศึกษา
1.การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
ระบบการควบคุมคุณภาพของมหาวิทยาลัย จะประกันว่ามีการปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามหน้าที่ความรับผิดชอบ มีการควบคุมปัจจัยหรือตัวแปรต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อคุณภาพจัดทำเกณฑ์มาตรฐาน ตัวชี้วัด ความสำเร็จของปัจจัยคุณภาพดังกล่าวเน้นที่ระบบการกำกับดูแลตนเอง (Self-regulation System) ในระดับบุคคล หลักสูตรสาขาวิชา คณะ สำนัก และมหาวิทยาลัย
2.การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit)
การตรวจสอบในระดับมหาวิทยาลัย คณะ หน่วยงานสนับสนุน และหลักสูตรสาขาวิชา ทั้งการตรวจสอบด้วยตนเองและการตรวจสอบจากภายนอกเน้นที่กระบวนการประกันคุณภาพซึ่งได้แก่ การกำหนดนโยบาย กฎระเบียบ การสนับสนุนช่วยเหลือ และ หลักฐานต่าง ๆ วิธีการที่ใช้ คือ การตรวจสอบหลักฐานหรือรายงาน การสัมภาษณ์ผู้บริหาร อาจารย์ ผู้ปฏิบัติงานและนักศึกษา
3.การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment)
การประเมินค่าระดับคุณภาพของ กิจกรรมเฉพาะอย่างในหน่วยงาน เช่น คุณภาพการจัดการศึกษา คุณภาพของงานวิจัย คุณภาพของการสอน เป็นต้น โดยมีจุดเน้นที่คณะและหลักสูตรสาขาวิชา การประเมินจะใช้วิธีการศึกษาตนเอง (Internal Peer Review) และการใช้ตัวชี้วัดพฤติกรรม (Performance Indicators)
Contact Us
Phone
(044) 710-047
Open Hours
Mon – Fri: 08:30AM – 04:30PM
Address
186 Moo 1 Surin-Prasart Rd. Nokmuang Surin, TH 32000
Quick Links
- ระบบเชื่อมโยงข้อมูลสาธารณะ
https://ita.srru.ac.th - ระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพ
https://qa.srru.ac.th - ระบบจัดการฝึกอบรม
https://qdtraining.srru.ac.th
Follow